ธงกฐิน ธงวัด

" ธงจระเข้ " ใช้ประดับในการแห่ (
มีตำนานว่าเศรษฐีเกิดเป็นจระเข้ว่ายน้ำตามขบวนกฐินจนขาดใจตาย )
" ธงนางมัจฉา " ใช้ประดับงานพิธีถวายผ้ากฐิน ( เป็นตัวแทนหญิงสาว ตามความเชื่อว่าอานิสงส์จากการถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์จะมีรูปงาม )
" ธงตะขาบ " ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า
วัดนี้มีคนมาจองกฐินแล้ว (
ให้ผู้จะมาปวารณาทอดกฐินผ่านไปวัดอื่นเลย ไม่ต้องเสียเวลามาถาม )
" ธงเต่า " ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว ( จะปลดลงในวันเพ็ญเดือน 12 )
กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้ที่เราเอาขึงผ้าเวลาจะเย็บ
ระยะ เวลาการทอดกฐิน กำหนดให้ เริ่มจากวันออกพรรษา
จนถึงวันลอยกระทง
วัดที่จะรับกฐินได้ ต้องมีพระอยู่จำพรรษา 5 รูปขึ้นไป ไม่นับเณร
วัดหนึ่งรับกฐินได้แค่ 1 ครั้ง ต่อปี
ประเภทของกฐิน
1.จุลกฐินหรือกฐินแล่น คือการทำผ้าจีวรเพื่อใช้ทอดกฐินให้เสร็จภายในวันเดียว
ตั้งแต่การ ปั่นด้าย ทอ ย้อมสี ตัดเย็บเป็นจีวร ซึ่งต้องใช้คนเป็นจำนวนมาก
ใช้ความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านเป็นอย่างมาก เดี๋ยวนี้หาดูยากมีเพียงวัดป่าเท่านั้น
2.มหากฐิน คือกฐินที่เราเห็นทั่ว ๆ ไป คือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิน
ณ วัดใด ก็ให้ทำใบปวารณาจองกฐินติดใบบอกไว้ ณ เขตวัดนั้นๆ เมื่อถึงเวลากำหนด
ให้นำผ้ากฐิน
พร้อมทั้งบริวารกฐินอื่น ๆ ตามแต่เจ้าของกฐินจะจัดหา
บางตำราท่านจะแบ่งกฐินออกเป็นแยกย่อยอีกเช่น
-กฐินสามัคคี ลักษณะเหมือนมหากฐิน แต่จะมีหลายๆคนร่วมกันเป็นเจ้าภาพ
บางทีจัดหาเงินเพื่อสบทบในการ
ก่อสร้างวิหาร เจดีย์ ต่างๆ ภายในวัดด้วย
-กฐินตกค้าง หรือกฐินโจร ซึ่งมักจะเป็นการทอดกฐินในวันสุดท้าย
โดยอาจจะมีคนไปหาว่าวัดไหนยังไม่ได้กฐินก่อจะเข้าไปทอดกฐินแบบจู่โจม
โดยทางวัดไม่รู้หรือเตรียมการล่วงหน้า
สอบถามเพิ่มเติม
ร้านสะพานบุญ รามอินทรา ปากซอย 109
โทร 089-6891465